|
|
|
SUN |
|
|
|
|
|
SAT |
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
9
|
10
|
11
|
12
|
13
|
14
|
15
|
16
|
17
|
18
|
19
|
20
|
21
|
22
|
23
|
24
|
25
|
26
|
27
|
28
|
29
|
30
|
31
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
DSA98
(178) |
DSA104
(146) |
DSA97
(86) |
DSA105
(50) |
DSA100
(49) |
DSA109
(45) |
DSA102
(44) |
DSA101
(42) |
DSA110
(41) |
DSA99
(37) |
จำนวนนักเรียนเก่าทั้งหมด 46719 |
|
 |
|


อาจารย์ท่านเกิดใน วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๒๓ ชีวิตของท่านนี้เกิดมาเพื่อเป็นครูโดยแท้ ท่านเริ่มเป็นครู
ผู้ช่วยที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิ เมื่ออายุย่างเข้า๑๘ปี (พ.ศ.๒๔๔๐) ชีวิตของท่านส่วนใหญ่อยู่กับการอบรมสั่งสอน
นักเรียนให้เป็นพลเมืองดีของชาติ ความดีของท่านยังคงซาบซึ้งอยู่ในวิญญาณของญาติมิตร และศิษยานุศิษย์
ทั้งปวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวเทพศิรินทร์บรรดาลูกแม่รำเพยทั้งหลาย
อาจารย์ท่านนี้ได้ศึกษาหนังสือไทยและบาลี ที่วัดจักรวรรดิราชาวาสประมาณปีเศษ ก็ได้มาเรียนต่อหนังสือไทย
ที่โรงเรียนหลวงซึ่งตามบันทึกของท่านว่าเป็นโรงเรียนเทพศิรินทร์นั่นเองชีวิตของท่านตั้งเข็มไว้คือการเป็นครู
ก่อนที่ท่านจะเข้ามารับตำแหน่งอาจารย์ในโรงเรียนเทพศิรินทร์ได้ผ่านชีวิตครู และเจ้าหน้าที่การศึกษาติดต่อ
กันมิได้ขาดตอนและขณะเข้าดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์นั้น ตึกแม้นนฤมิตรเพิ่งจะสร้าง
เสร็จใหม่ๆ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุขเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชได้ทรง
เรียกตัวให้ไปสอนพิเศษพระโอรส และ พระธิดาสองพระองค์ คือ พระองค์เจ้าชายศิริวงศ์วัฒนเดช และพระองค์
เจ้าหญิงเฉลิมเขตรมงคล อาจารย์ท่านนี้ก็ได้รับพระอนุญาตให้อยู่ในวังบูรพาภิรมย์เลยทีเดียวและได้รับใช้ใกล้
ชิดเจ้านายโดยตลอดมาอีกหลายพระองค์ มีความสามารถในการอบรมกุลบุตรกุลธิดาต่างๆ นับตั้งแต่คนธรรมดา
สามัญจนถึงลุกเจ้านายเป็นที่รู้เห็นประจักษ์แจ้งทำให้โรงเรียนเทพศิรินทร์มีชื่อเสียงที่ดี การสอนพิเศษอบรม
ลูกเจ้านายยังปฎิบัติตลอดมา แม้ในระยะหลังพระวิมาดาเธอกรมพระสุทธาสินีนาฏฯ ก็ยังโปรดให้ไปสอนพระ
นัดดา๓ พระองค์คือ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร และ พระองค์
เจ้าอนุสรมงคลการ ซึ่งเป็นพระโอรสใน พระองค์เจ้าหญิงเฉลิมเขตรมงคล ศิษย์เดิมของท่าน
อาจารย์ท่านนี้รับตำแหน่งอาจารย์ผู้ปกครองโรงเรียนเทพศิรินทร์เมื่อ วันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๐ และได้
ดำรงตำแหน่งนี้ตลอดมาจนถึง วันที่ ๖ กรกฏาคม พ.ศ.๒๔๗๕ ท่านอยู่ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์รวมเวลานาน
ถึง ๒๙ ปี และ ผลิตชาวเทพศิรินทร์ออกมาสู่โลกภายนอกเป็นจำนวนพันๆคน ชาวเทพศิรินทร์ไม่เคยลืมท่าน
ท่านอาจารย์ท่านนี้มักจะถือไม้ตะพดหัวเลี่ยมเงินขนาดเขื่องสวมหมวกกะโล่สีขาว นุ่งผ้าพื้นสีน้ำเงินแก่ เดิน
ท่องอยู่บริเวณรอบๆสนามฟุตบอลของโรงเรียนซึ่งรายล้อมไปด้วยต้นมะฮอกกะนี ตอนหยุดพักเพลมักจะเข้า
ไปสนทนากับศิษย์ตัวเล็กๆ ซึ่งชอบวิ่งเล่นกันอยู่ในสนามบ้าง นั่งอยู่ใต้ร่มเงาของต้นมะฮอกกะนี และ ต้นมะ
ขามบ้าง บางครั้งและบ่อยๆครั้ง ท่านจะค่อยๆด้อมเข้าไปทางห้องยิมและห้องส้วม เพื่อจับนักเรียนที่มั่วสุมแอบ
สูบบุหรี่ ท่านไม่เคยเก็บตัวอยู่ในห้องทำงานเลยในขณะหยุดพักกลางวัน ท่านใช้เวลาทุกขณะลมหายใจคลุก
เคล้าอยู่กับเด็กนักเรียน ในวันเสาร์ท่านขึ้นเวทีห้องโถงใหญ่ นักเรียนรุ่นใหญ่รุ่นน้อยที่ยืนเข้าแถวตามลำ
ดับชั้นก็มักจะถอนหายใจใหญ่เป็นส่วนมาก เพราะทราบดีแล้วว่าจะต้องได้รับการฟัง "เทศน์" จากท่านอย่าง
น้อยก็เป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง หรือมากกว่านั้น ซึ่งนานจนทำให้เมื่อยและทุรนทุรายเป็นห่วงถึงการเล่นกีฬาภาย
ในสนามและโรงยิม "เทศน์" ของท่านซึ่งกินเวลายาวนานนั้น สมัยเมื่อเป็นนักเรียนก็เป็นเพียงแต่ผ่านๆหูไป
พอจำได้เท่านั้น แต่เมื่อออกจากโรงเรียนและเติบโตแล้ว ย่อมสำนึกได้ดีว่า "เทศน์" ของท่านมีคุณ และเป็น
พระคุณแก่บรรดาศิษย์ยากที่จะประมาณได้
ที่จริงเจ้าคุณจรัลฯ ท่านไม่นิยมภาษาอังกฤษ แต่ท่านจะใช้ภาษาอังกฤษเพียง ๒คำ ที่นักเรียนสมัยนั้นประพฤติ
ปฎิบัติกันมาด้วยดีตลอดมาจนบัดนี้ คำแรกคือ Back Bite ซึ่งคงจะแปลแล้วเข้าใจกันทุกคน เพราะท่าน
นั้นปรารถนาจะเห็นนักเรียนเทพศิรินทร์ทุกคนมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ไม่ทำร้ายคนข้างหลัง เป็นเวลาอันยาวนาน
แล้วที่นักเรียนเทพศิรินทร์รู้จักคำนี้ และนักเรียนเทพศิรินทร์ ลูกศิษย์ของท่านเจ้าคุณจรัลชวนะเพททุกคนที่ได้
รับคำสั่งสอนอบรมให้เข้าใจคำว่า Back Bite แล้วเราจะไม่ทำร้ายคนข้างหลังแน่นอน
อีกคำนึงที่ท่านอาจารย์ผู้ปกครองท่านนี้ถนัดนักก็ได้แก่ Esprit De Corps (เอส-ปรี-เดอ-คอ) เป็นคำเตือน
ใจนักเรียนเทพศิรินทร์ให้รู้จักรักพวกพ้อง รักหมู่คณะอย่าแตกแยกกัน คำภาษาต่างประเทศคำนี้ ใช้อบรมนักเรียน
เทพศิรินทร์ ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๖๘ - พ.ศ.๒๔๗๕
และอีกคำนึงที่นักเรียนเทพศิรินทร์ทุกคนทุกรุ่นจะลืมเสียไม่ได้ก็คือ นสิยา โลก วฑฒโน ไม่ควรเป็นคนรกโลก
ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ได้มอบให้แก่โรงเรียนเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๖ คติพจน์นี้ท่านเจ้าคุณจรัลชวนะเพท เป็นผู้นำ
มาอบรมนักเรียนเทพศิรินทร์ในสมัยซึ่งท่านดำรงตำแหน่งอยู่ และคติพจน์นี้ก็ซาบซึ้งฝังแน่นในชาวเทพศิรินทร์ทุกคน
อาจารย์ท่านถือเป็นหนึ่งในเพชรน้ำเอกมีค่าล้ำเลิศประดับไว้กับเทพศิรินทร์ และ พิจารณาให้ลึกซึ้งลงไปอีก
ก็จะพบว่าอาจารย์ท่านเปรียบเสมือนเพลงอโหกุมารบทสุดท้าย ท่านเป็นทั้งตัวโน๊ตและเนื้อร้อง เพราะท่าน
ได้ทุ่มเทกำลังกายกำลังใจทำให้ชื่อเสียงของเทพศิรินทร์ดังกระฉ่อนอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้
|
|
|
|
|
|
|