|
|
|
SUN |
|
|
|
|
|
SAT |
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
9
|
10
|
11
|
12
|
13
|
14
|
15
|
16
|
17
|
18
|
19
|
20
|
21
|
22
|
23
|
24
|
25
|
26
|
27
|
28
|
29
|
30
|
31
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
DSA98
(178) |
DSA104
(146) |
DSA97
(86) |
DSA105
(50) |
DSA100
(49) |
DSA109
(45) |
DSA102
(44) |
DSA101
(42) |
DSA110
(41) |
DSA99
(37) |
จำนวนนักเรียนเก่าทั้งหมด 46719 |
|
 |
|


วงดนตรีเทพศิรินทร์ ที่ท่านอาจารย์ฟุ้ง ศรีวิจารณ์ นักเรียนเทพศิรินทร์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ เป็นครูเทพศิรินทร์
เมื่อพ.ศ. ๒๔๖๓ได้เล่าไว้ว่า "เมื่อนึกถึงเทพศิรินทร์ก็เห็นภาพวงดนตรีเทพศิรินทร์ อันเป็นวงดนตรีแห่งความ
หลังซึ่งข้าพเจ้าริเริ่มจัด ตั้งขั้นเมื่อพ.ศ.๒๔๖๖ เวลานั้นข้าพเจ้าเป็นครูสอนประจำชั้นมัธยมปีที่ ๖ ค. ข้าพเจ้ามีวัตถุ
ประสงค์จะส่งเสริมการลูกเสือของเทพศิรินทร์ซึ่งมีอยู่ ๓กอง คือ กองที่ ๒ ๓๒และ ๖๗ ข้าพเจ้าปรารถนาจะให้มีแตร
วงประจำกองลูกเสือเทพศิรินทร์เพื่อใช้ในงานสวนสนาม งานแรมคืน และ งานชุมนุมอื่นๆ เมื่อได้นำเรื่องนี้เสนอ
ท่านเจ้าคุณจรัลชวนะเพทอาจารย์ผู้ปกครองท่านก็เห็นพ้องด้วย แต่โรงเรียนของเราไม่มีเงินพอ ที่จะจัดซื้อแตรวง
ได้ฉะนั้นการจัดตั้งแตรวงประจำกองลูกเสือจึงต้องระงับไป" อาจารย์ฟุ้ง ศรีวิจารณ์ จึงต้องเปลี่ยนความคิดมาตั้งวง
ดนตรีไทยขึ้นเพราะเครื่องดนตรีไทยมีราคาถูกกว่าแตรวงมาก โรงเรียนพอจะมีเงินซื้อได้
นักเรียนเทพศิรินทร์ สมัย พ.ศ.๒๔๖๖ คงจะมีราว ๘๐๐ คน ต่างกับสมัน พ.ศ.๒๕๑๕ ซึ่งมีนักเรียนเกือบจะถึง
๑๘๐๐ คน ความจำเป็นทั้งจะต้องมีแตรวง (หรือวงโยธวาทิต )เมื่อ ๕๐ปีที่ล่วงมา ความจำเป็นนั้นก็ยังคงมีอยู่เพราะ
ปรากฏว่าการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตร มิตรทั้ง ๓โรงเรียน ซึ่งมี โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน โรงเรียนอัสสัมชัญ
โรงเรียนสวนกุหลาบต่างก็มีแตงวง เป่านำขบวนนักกีฬา ของ แต่ละโรงเรียนไม่มีแตรวงอยู่แต่เทพศิรินทร์โรง
เรียนเดียวในการเดินพาเหรดของนักกีฬาเทพศิรินทร์สมัยแรกเริ่มการแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรรู้สึกน้อยหน้า
จึงได้คิดหาเงินกันได้ก้อนหนึ่ง ก็จัดซื้อกลองให้โรงเรียนไว้หลายใบ สำหรับตีให้จังหวะแปรขบวนแต่เวลาล่วงไป
อีกหลายปีก็ยังมีอยู่แค่นั้นไม่มีอะไรก้าวหน้า
เวลากึ่งศตวรรษล่วงไป พ.ศ.๒๕๑๕ ความหวังที่จะมีแตรวง ดูจะปรากฏวี่แววขึ้นบ้างแล้ว เพราะปรากฏจาก
บันทึกประชุมใหญ่ของ สมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ซึ่งเสนอให้มีการจัดตั้งวงโยธวาทิตให้กับ โรงเรียน
โดยให้คณะกรรมการสมาคมฯช่วยกันหาทุนจัดซื้อ แต่ก็ปรากฏว่าเรื่องก็เงียบหายไป
ไม่มีขาวคราวอีกเลย ความหวังที่จะมีแตรวง จึงต้องล้มเหลวไปอีกครั้ง
ความหวังที่เป็นจริงเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐ เมื่อท่านผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส คือ พระราชปัญญา
โกศล ต้องการที่จะให้มีวงดนตรีเพื่อประกอบกิจร่วมกับทางวัดเช่นพิธีรับเสด็จฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัว หรือ พระบรมวงศานุวงศ์เป็นกองเกียรติยศสำหรับประชาชนในงานต่างๆ ซึ่งทางวัดมีอยู่เรื่อยๆ ท่าน
จึงได้สั่งซื้อเครื่องดนตรีต่างๆจากยุโรป ประมาณ ๖๐ชิ้น มอบให้ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ เป็นผู้นำเข้ามา โดยแบ่ง
ให้โรงเรียนนวมราชานุสรณ์ จ.นครนายก ๓๐ชิ้น ที่เหลือทั้งหมดมอบให้กับโรงเรียนเทพศิรินทร์ซึ่งเครื่อง
ดนตรีที่ได้รับยังไม่สามารถที่จะจัดตั้งวงโยธวาทิตได้ ประกอบกับไม่มีครูสอนในทางนี้ จึงได้มอบหมายให้
อาจารย์สุวิ มนต์คำ เป็นผู้เก็บรักษาไว้ สมัยนั้น อ.เจือ หมายเจริญ เป็นผู้อำนวยการ ก็ได้พยายามจัดหามา
เพิ่มเติม ได้เครื่องดนตรีบางชั้นที่ทางแผนกดุริยางค์ตำรวจได้จำหน่ายออก ทางโรงเรียนจึงได้ติดต่อผ่านทาง
ท่านเจ้าคุณพระราชปัญญาโกศล ขออนุเคราะห์เครื่องดนตรีเหล่านั้น เพื่อนำมาซ่อมแซมให้ใช้การได้ เมื่อ
ไม่มีครูสอนโรงเรียน จึงได้ขอบรรจุครูดนตรีจากกรมสามัญฯ ผลการบรรจุจึงได้อาจารย์เดชา แสงทอง

ในปี พ.ศ.๒๕๒๑ ได้เริ่มต้นคัดเลือกนักดนตรี และทำการฝึกซ้อมเป็นรุ่นแรกในปีนั้นเอง และ งานที่ออก
บรรเลงเป็นงานแรกคือ งานกีฬาสีของโรงเรียน เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๑ ณ สนามศุภชลาศัย
ใช้เครื่องแต่งกายนักเรียนปัจจุบัน เพราะขณะนั้นยังไม่มีเครื่องแบบของวง ความสามารถของนักดนตรี
ยังน้อย จึงได้บรรเลงแต่เฉพาะภายในงานโรงเรียนเท่านั้น
กระทั่งวันที่ ๒๒ กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๒๒ เป็นครั้งแรกที่ได้บรรเลงปรากฏแก่สายตาประชาชน ด้วยชุดลูกเสือ
ในงานรำลึกถึงการส่งทหารไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่๑ ณ วงเวียน ๒๒กรกฎาคม
วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้มีโอกาสบรรเลงรับเสด็จ เป็นครั้งแรก โดยบรรเลงรับเสด็จสมเด็จพระนางเจ้า
พระบรมราชินีนาถ ในการถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดเทพศิรินทราวาส และเป็นครั้งแรกที่นักดนตรีได้สวมชุด
เครื่องแบบของวงฯ ซึ่งเป็นชุดนักเรียนเทพศิรินทร์ ยุคพ.ศ.๒๔๔๕ แต่ดัดแปลงเล็กน้อย
ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๓ เป็นครั้งแรกที่วงโยธวาทิต เทพศิรินทร์ ได้รวมบรรเลงร่วมกับวงโยธวาธิตของ
โรงเรียนในเครือจตุรมิตรทั้ง ๓ โรงเรียนในพิธีถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้า
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๔ ได้รับเกียรติจากผู้ที่มีความสามารถ ๒ ท่านเข้าร่วมการฝึกซ้อม และปรับปรุงวงครั้ง
ใหญ่คือ พ.ต.อ.กมล แพทยคุณซึ่งท่านเป็นลูกศิษย์ ที่ใกล้ชิดของ ศ. พระเจนดุริยางค์ มากที่สุด และเคยดำรง
ตำแหน่งหัวหน้าแผนกดุริยางค์กรมตำรวจ เคยได้รับการอบรมและดูงานจากวงโยธวาธิตในต่างประเทศจน
ทำให้วงตำรวจประสบความสำเร็จจนเป็นที่เลื่องลือของชาวต่างประเทศ และเป็นที่พอพระราชหฤทัย ขององค์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน และ อีกท่านหนึ่ง คือ ด.ต. ประพันธ์ ศิริทรัพย์ ท่านมีความรู้เรื่อง
การจัดรูปแถวขบวนต่างๆ ได้ผ่านการอบรมและดูงานจากต่างประเทศ และยังเป็นดรัมเมเยอร์ไม้หนึ่ง ใน
การรวมวงสี่เหล่าทัพ ท่านทั้ง๒ และอาจารย์เดชาแสงทอง ได้ร่วมสอนและฝึกซ้อม
จนกระทั่งนักดนตรีมีความสามารถดีขึ้น
วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๔ ชนะเลิศการประกวดวงโยธวาทิต คัดเลือกเป็นตัวแทนเขตกรุงเทพฯ
วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๕ เป็นตัวแทนเขตกรุงเทพฯ เข้าประกวดวงโยธวาทิต ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย
ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่๑
วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๕ ได้รับพระราชทานโล่ที่ระลึกจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ในโอกาสเป็นวงดุริยางค์ชั้นนำ โดยนำขบวนรถบุปผาชาติ งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ปี
วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๖ ชนะเลิศการประกวดวงโยธวาทิต คัดเลือกเป็นตัวแทนเขตกรุงเทพฯ เป็นปีที่ ๒
วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๖ เป็นตัวแทนเขตกรุงเทพฯ เข้าประกวดวงโยธวาทิต ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย
ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่๑
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๗ ได้รับความช่วยเหลือจากทางสมาคมนักเรียนเก่าฯ สมาคมผู้ปกครองและครูฯ จัดเดิน
การกุศลเพื่อหารายได้จัดซื้อเครื่องดนตรีเพิ่มเติม เพื่อปรับปรุงวงโยธวาทิตทั้งนี้ก็ได้จักทำแผนพัฒนาปรับปรุง
วงฉบับที่๑ พ.ศ.๒๕๒๗-๒๕๒๙ ไว้ และได้แต่งตั้งวิทยากรเพิ่มอีกหนึ่งท่านคือ นายชัยราช กิจเกื้อกูล ซึ่งเป็น
นักเรียนเก่ารุ่น๒๑-๒๓และเป็นนักดนตรีรุ่นแรกที่ร่วมก่อตั้งวงฯ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางดนตรี
ได้ช่วยสอนและฝึกซ้อมแก่รุ่นน้องมาโดยตลอด
|
|
|
|
|
|
|